วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ึ 16
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
วันอังคารที่ 30 เดือน เมษายน พ.ศ.2558
                  ครั้งที่ 16 กลุ่ม 103 ห้องเรียน 443
                    เวลาเรียน 14.10-16.40 น.


            สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายในการเรียนการสอนของวิชานี้ อาจารย์
         ให้สอบร้องเพลงที่เรียนมาคนละ 1 เพลงโดยการจับฉลากว่าจะได้สอบ
         เพลงไหนจับได้เพลง

                             เพลง  ดอกไม้

                        ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
                      เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู



ความในใจที่มีต่ออาจารย์

        
     ขอบคุณนะคะสำหรับทุกอย่างเลยที่อาจารย์ได้สอนหนู
     ดีใจที่ได้เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ ขอบคุณมากนะคะที่
      อาจารย์เห็นการเปลี่ยนแปลงของหนูมันไปในทางที่ดีขึ้น
       และหนูก็จะพยายามทำให้มันดีขึ้นไปกว่าเดิม เทอมนี้หวัง
       ว่าจะได้ A วิชานี้อิิอิ ขอให้ได้เย้เย้ อาจารย์เป็นอาจารย์ที่
        น่ารักมากเข้าใจนักศึกษา คอยช่วยเหลือ คอยสั่งสอนพวก
         เราแทบทุกๆเรื่องหวังว่าเทอมหน้าจะได้เรียนกับอาจารย์   
                              อีกนะค่ะ    

                                                                         
                                                                             รักและเคารพมากมาก
                                                                               สมฤทัย :)


 จากนี้และตลอดไป :)   


                                                                                         


บันทึกอนุทินครั้งที่ึ 15
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
วันอังคารที่ 21 เดือน เมษายน พ.ศ.2558
                ครั้งที่ 15 กลุ่ม 103 ห้องเรียน 443
                  เวลาเรียน 14.10-16.40 น.


โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
(Individualized Education Program)

   
    IEP 

       - เป็นแผนที่ไม่ได้ทำขึ้นคนเดียว ทำกันหลายคน เช่น ครู หมอ
   ผู้ปกครอง ผุ้บริหารโรงเรียน
       - ในทางปฎิบัติครูประจำชั้นเป็นคนเขียนแล้วให้คนอื่นดู บางแผนอาจใช้
   เทอมเดียว บางแผนใช้หนึ่งปี
       - แผน IEP จะเขียนได้ก็ต่อเมื่อครูรู้รายละเอียดเด็กถี่ถ้วนต้องได้สัมผัส
   กับเด็กเป็นเวลา 1 เทอมจนครูรู้อาการ นิสัย   ชอบไม่ชอบอะไรบ้าง 
   ครอบครัวเป็นอย่างไร
      

การเขียนแผน IEP 

   - คัดแยกเด็กพิเศษ
   - ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
   - ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
   - เด็กสามารถทำอะไรและทำอะไรไม่ได้บ้าง
   - จึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย 

    - ข้อมูลส่วนตัวเด็ก
    - ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการอะไรพิเศษบ้าง
    - ระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน
    - เป้าหมายระยะยาว - ระยะสั้น
    - ระบุวัน เดือน ปีที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
    - วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก 
  
   - ได้เรียนรู้ความสามารถของตนเอง
   - ได้โอกาสพัฒนาความสามรถของตนเอง
   - ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูต่อเนื่องอย่างเหมาะสม

ประโยชน์ต่อครู 

 - เป็นแนวทางในการเลือกสื่อในการสอนและวิธีการสอน
ที่เหมาะสมกับเด็ก
 - เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามรถ
และความต้องการของเด็ก
 - ตรวจสอบและประเมินผลได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง 

  - ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็ก
พัฒนาความสามรถได้สูงสุดตามศักยภาพ
 -  เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่าง
ต่อเนื่องและใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการทำแผน IEP 

   - การกำหนดจุดมุ่งหมาย ระยะยาว/ระยะสั้น
   - การรวบรวมข้อมูล ทางการแพทย์ การประเมินด้านต่างๆ 
     บันทึกจากครู ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง 

              จุดมุ่งหมายระยะยาว 
           (กำหนดให้ชัดเจน กว้างๆ )                       
            - น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
            - น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

                  จุดมุ่งหมายระยะสั้น 
          (ต้องเขียนเป็นเชิงพฤติกรรมเด็ก กำหนดชัดเจน )

              ตัวอย่าง 

                   ใคร   อรุณ
                   อะไร  กระโดดขาเดียว
                   เมื่อไหร่ / ที่ไหน  กิจกรรมกลางแจ้ง
                   ดีขนาดไหน กระโดดได้ขาละ 5 ครั้งใน
                         เวลา 30 นาที

   การประเมินผล 
  
     - ประเมินภาคเรียนละครั้งหรือย่อยกว่านั้น
     - ควรมีการกำหนดวิธีการประเมินและเกณฑ์วัดผล

  ประเมินตนเอง
    
   แต่งกายถูกต้องเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์เพราะการเขียน
 แผน IEP ต้องนำไปใช้ในอนาคต
  
  ประเมินเพื่อน

  เพื่อนๆชวนอาจารย์คุยบ้างแต่เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์ มีการช่วยกัน
 ทำงานเป็นกลุ่มในการเขียนแผน IEP

  ประเมินอาจารย์
   
   อาจารย์เตรียมการเรียนการสอนมาดีทุกครั้ง มีการอธิบายแผน IEP ให้นัก
 ศึกษาฟังอย่างละเอียดเข้าใจง่ายสามารถนำไปเขียนเองได้   
                                                                                                  
                                                                                                                                                       

วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ึ 14
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
วันอังคารที่ 14 เดือน เมษายน พ.ศ.2558
                   ครั้งที่ 14 กลุ่ม 103 ห้องเรียน 443
                      เวลาเรียน 14.10-16.40 น.



              สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเทศกาลประเพณีสงกรานต์




บันทึกอนุทินครั้งที่ึ 13
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
วันอังคารที่ 7 เดือน เมษายน พ.ศ.2558
   ครั้งที่ 13 กลุ่ม 103 ห้องเรียน 443
เวลาเรียน 14.10-16.40 น.



การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 


ทักษะพื้นฐานทางการเรียน 

  เป้าหมาย

    - การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
    - มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
    - พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น

 ช่วงความสนใจ 
   
    - เด็กปกติจะมีช่วงความสนใจประมาณ 10-15 นาที
    - เด็กพิเศษจะมีช่วงความสนใจประมาน 5 นาที เช่นการเล่านิทาน
      ไม่ควรใช้นิทานที่เล่าเกิน 5-6 หน้าควรค่อยๆเล่าแล้วเพิ่มระยะเวลา
      ไปเรื่อยๆนิทานอาจจะเล่มหน้าขึ้น

การเลียนแบบ (การเรียนรู้เกิดจากการเลียนแบบ)

  - การเรียนรู้ส่วนมากของเด็กพิเศษจะใช้วิธีการเลียนแบบจากเพื่อน คุณครู
    คนที่โตกว่า คนใกล้ตัวเด็ก
      
       เช่น คุณครูต้องการให้น้องไปหยิบกระเป๋าหน้าชั้นเรียน คุณครูจะต้องเรียก
       น้องที่เป็นเด็กพิเศษก่อนน้องที่เป็นเด็กปกติเพราะเด็กพิเศษจะรู้สึกตัวช้า
       กว่าเด็กปกติพอคุณครูเรียกน้องทั้ง 2 คนแล้วเด็กปกติจะลุกขึ้นไปและ
       เด็กพิเศษจะเดิมตาม(แต่เด็กพิเศษจะไม่ทราบว่าคุณครูให้ทำอะไรแต่
       จะทำตามเด็กปกติเพราะได้ยินชื่อที่คุณครูเรียกพร้อมกัน ) 

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
     
 - ควรสั่งที่ละอย่าง ไม่ควรสั่งพร้อมกันทีละหลายๆอย่าง
 - คำสั่งไม่ควรซับซ้อน เข้าใจง่าย ใช้ศัพท์ที่เด็กเข้าใจง่าย


การรับรู้ การเคลื่อนไหว 

 - ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น ----> ตอบสนองอย่างเหมาะสม

    เช่น ถ้วยกาแฟร้อนถ้าเด็กปกติเอามือไปสัมผัสที่ถ้วยเด็กจะกระชากกลับ
    ทันทีแต่ถ้าเป็นเด็กพิเศษเอามือไปสัมผัสถ้วยประสาทรับรู้จะช้าประมาน
    สัก 5 นาทีเด็กจะรู้สึกร้อนและจะปัดถ้วยหกทันที

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก 


  - กรรไกรที่เหมาะกับเด็กที่สุดคือแบบที่ 1 เพราะอันเล็กจับสะดวกใบกรรไกร
    โค้งมล ( เด็กพิเศษเวลาใช้กรรไกรจะตัดได้ควรมีรอยปะ รอยขีด )


ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ 


          Ps. รูปสุดท้ายไม่เหมาะสมกับเด็กเพราะรูปตัวต่อเยอะเกินไป



การเล่นคือคุณครูวางมุมบลอกให้เป็นตัวอย่าง 

(เด็กพิเศษทำเองไม่ได้ เรียงเองไม่ได้)

วิธีคือ   
          1.คุณครูให้เล่นกับเพื่อน
          2.คุณครูให้เพื่อนช่วย

 ตัวอย่าง 

  เล่นกันเป็นกลุ่ม 3 คน คนที่ 1 กับคนที่ 2
 วางก่อนแล้วให้เด็กพิเศษวางตามให้น้องๆช่วย
 ต่อทำกันหลายๆคนน้องจะรู้สึกมั่นในและกล้าทำ


ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ 

   - การนับ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ 

    
 เช่นภาพนี้เรียนเรื่อง มิติสัมพันธ์ เครื่องเล่นข้างบน - ข้างล่าง

 การวางแผนการเตรียมพื้นฐานวิชาการ 

   - จัดกลุ่มเด็ก
   - เริ่มต้นเรียนรู้ในช่วงเวลาสั้นๆ
   - เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
   - ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
   - ใช้อุกปรณ์ที่เด็กคุ้นเคย มีอุปกรณ์ไว้เปลี่ยนใกล้มือ
   - บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
   - พูดในทางที่ดี ( ชมไว้เสมอถึงงานไม่ได้ออกมาดีก็ต้องชม )
   - จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว ทำบทเรียนให้สนุก
    
ประเมินตนเอง
 
  สัปดาห์นี้ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง ตั้งใจจดเพิ่มเติม ชอบคลิปวีดีโอที่อาจารย์เอามาให้
ดูท้ายชั่วโมงมากรู้สึกประทับใจน้องที่น้องไม่มีแขนแต่น้องสามารถใช้ชีวิตได้ปกติไม่
เป็นภาระใครสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ปกติ มันทำให้เราคิดได้ว่าบนโลกนี้มีคนที่
แย่ลำบากกว่าเราเราควรตั้งใจเรียนให้มากกว่าเดิม ช่วยเหลือตัวเองให้ได้พยายาม
เป็นภาระคนอื่นให้น้อยที่สุดและควรพึ่งตัวเองให้มากที่สุด 

  ประเมินเพื่อน

  สัปดาห์นี้เพื่อนๆขาดกันเยอะ แต่คนที่มาก็ตั้งใจเรียนมีคุยกันบ้าง แต่เพื่อนๆก็ยัง
สนใจอาจารย์ตั้งใจฟังและตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์

  อาจารย์เตรียมการเรียนการสอนมาดีทุกครั้ง มีข่าวสารมาอัพเดทให้ฟังตลอดคือ
ชอบมากเวลาอาจารย์มาเล่าเรื่องให้ฟัง อาจารย์มีสื่อมาสอนเพิ่มเติมให้นักศึกษา
ทุกครั้ง