วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
วันอังคารที่ 27 เดือนมกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 3 กลุ่ม 103 ห้องเรียน 443
 เวลาเรียน 14.10-16.40 น.


รูปแบบการจัดการศึกษา 

    การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education) 
การศึกษาพิเศษ (Special Education)
       การศึกษาแบบเรียนร่วม (lntegrated Education)
      การศึกษาแบบเรียนรวม (lnclusive Education)



การศึกษาแบบเรียนร่วม 
(lntegrated Education / Mainstreaming)

 - เป็นการจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป 
(หลักสูตรเหมือนเดิมไม่เปลี่ยน)
 - มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษทำร่วมกันกับเด็กปกติทั่วไป
 - ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
 - ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษทำงานร่วมกัน 
(ครูพิเศษเป็นครูที่มาจากโรงเรียนเฉพาะทางของเด็กพิเศษ)

การเรียนร่วมบางเวลา (lntegration)
(เข้าไปเรียนแค่ ช่วงใดช่วงหนึ่ง)

- เด็กพิเศษมีโอกาสได้แสดงออกและมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
- เด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมากจึงไม่อาจ
  เรียนร่วมเต็มเวลาได้
- เด็กพิเศษทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวได้ง่ายและเป็นกิจกรรมยอดฮิต

 การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
  (เรียนตั้งแต่เช้าถึงเย็น)

- เป็นการจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด้กอยู่ในโรงเรียน
- เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
- ระดับอาการระดับน้อยหรืออาจจะปกติในระดับใดระดับหนึ่ง

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (lnclusive Education)

- รับเด็กเข้าเรียนร่วมตั้งแต่เริ่มเข้าการศึกษา 
- จัดให้มีความต้องการพิเศษตามความต้องการของบุคคล
- เด็กพิเศษจะไม่ได้สังกัดอยู่ในความดูแลของศูนย์พิเศษ

Wilson,2007

- การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกันเป็นหลัก
- การสอนที่ดีเป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน

ปรัชญาของการเรียนรวม

เด็กปกติต้องเข้าใจว่ามนุษย์เกิดมาไม่เท่าเทียมกันแต่มีสิทธิเท่าเทียมกันทุกคน

'Inclusive  Education is Education for all
 It involves receiving people
at the beginning of their  education,
with provision of additional services
needed by each individual"

การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน 
ที่เด็กทุกคนควรได้รับการศึกษาขั้นต้น (เด็กอนุบาล)
เด็กแต่ละคนมีความต้องการต่างกันเฉพาะบุคคลที่
เราต้องจัดให้เหมาะสมกับเด็กเฉพาะบุคคล


สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม


- ครูควรเปิดโอกาสเข้าใจเด็กและไม่ปิดกั้นอย่าตัดสินใจถ้ายังไม่ได้สัมผัสเด็ก
- เป็นการจัดการเรียนการสอนที่จัดให้เด็กพิเศษเข้าเรียนกับเด็กปกติทั่วไปโดยรับเข้ามาเรียนรวม
   กัน
- เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความ
  ต้องการพิเศษของเขา
- เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก (โรงเรียนทั่วไปไม่รับเด็กพิเศษเข้าเรียนนอกจากโรงเรียนเรียนรวม)
- ทุกคนยอมรับว่ามีผู้พิการอยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติได้

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม


 -ปฐมวัยเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้ (เซลล์สมองสร้างถึงอายยุแรกเกิด-7ปี) 
  -เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

ทำไมการศึกษาแบบเรียนรวมต้องเรียนช่วงปฐมวัย ?

   เพราะปรับตัวได้สมองกำลังพัฒนาได้ดีเซลล์สมองสร้างถึงอายุแรกเกิดถึงอายุ 7 ปี
และจะหยุดพัฒนาและเสื่อมลงเรื่อยๆปฐมวัยวัยคือช่วงวัยทองของการเรียนรู้


เด็กเรียนรวม / เด็กเรียนร่วม

พัฒนาไม่ต่างกันเด็กพัฒนาได้ทั้งคู่ต่างกันคือเด็กที่เรียนรวมมีพัฒนาการมากกว่าคือสังคมและการอยู่รวมกับผู้อื่น


เด็กพิเศษที่เรียนด้วยกัน 

ข้อดีคือ ไม่ถูกเปรียบเทียบ ไม่กดดันเพราะคิดว่าเราไม่ต่างกัน
ข้อเสียคือ ปรับตัวยากไม่มีการกระตุ้นให้เด็กมีความพัฒนา อยู่รวมกับผู้อื่นและคนในสังคมไม่ได้


บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม 


ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็ก (เป็นหน้าที่ของแพทย์เท่านั้น)

- การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
-จากอาการที่แสดงออกอาจจะนำไปสู่การเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก

- เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
- ชื่อเปรียบเสมือตราประทับตัวเด็กตลอดไป
- เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
- ไม่ควรตั้งฉายาหรือชื่อเรียกที่ไม่ใช่พ่อแม่เด็กตั้งให้

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่เด็กว่าเด็กมีความปกติบางอย่าง

- พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูย้ำในสิ่งที่เขารุ้อยู่แล้ว
- ครูควรรายงานว่าเด็กทำอะไรได้บ้างเท่ากับเป็นการระบุว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
- ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
ครูทำอะไรบ้าง ?
- ให้คำแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
- จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
- สังเกตเด้กอย่างมีระบบ
    
    - ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
    - ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆช่วงเวลายาวนานกว่า

การบันทึกต่อเนื่อง


- ให้รายละเอีดมาก
- เขียนทุกอย่างที่เด้กทำในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
- ดดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
(สังเกตพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งก็จบ)


- บันทึกลงบัตรเล็กๆ
- เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การตัดสินใจ
- ครูควรตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
- พฤติกรรมที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด้กหรือไม่
ดอกชบา 

ต้นแบบ



  

วาดเอง


  ที่อาจารย์ให้วาดและเขียนข้อความในสิ่งที่เห็นในดอกชบาเพราะอาจารย์จะสื่อให้นักศึกษาเข้าใจว่าการจดบันทึกหรือการเขียนข้อความไม่ควรเขียนเพ้อฝันหรือจินตนาการไปเองควรเขียนในสิ่งที่เห็นไม่ยกย่อหรือเขียนเพื่อเอาใจใครแต่การเขียนบันทึกคือการเขียนด้วยความจริงเขียนในสิ่งที่เห็นไม่ควรเติมแต่งคำเพื่อที่ให้มันดูสวยงาม


ประเมินตนเอง

   เข้าเรียนตรงเวลา มีสีผมที่ไม่ค่อยเรียบร้อยสัปดาห์นี้ตั้งใจเรียนจดบันทึกเพิ่มเติมที่อาจารย์บอกและตั้งใจวดรูปดอกชบา ไม่ค่อยตั้งใจฟังและคุยบ้างช่วงหลังจากที่อาจารย์ให้วาดรูปเสร็จและเรียนต่อหนูจะพยายามตั้งใจเรียนให้มากกว่าเดิมนะค่ะอาจารย์

  ประเมินเพื่อน

  เพื่อนเข้าเรียนกันตรงเวลา อาจารย์ได้แจกดาวให้กับคนที่ย้อมผมสีดำเทอมนี้เพื่อนๆๆตั้งใจเรียนกันมากขึ้นและตั้งใจกันทำงานทุกคนอาจจะมีคุยกันบ้างแต่ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกเพิ่มเติมกันทุกคน

ประเมินอาจารย์

  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาทุกครั้ง แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์สอนเข้าใจง่ายและมีการยกตัวอย่างการสอนและมีการสอนที่แปลดใหม่ไปจากเทอมที่แล้ว



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น