บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
วันอังคารที่ 17 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่ 6 กลุ่ม 103 ห้องเรียน 443
เวลาเรียน 14.10-16.40 น.
การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
การเข้าใจภาวะปกติ
- เด็กทุกคนค่อนข้างคล้ายกันมากกว่าแตกต่างกัน ครูต้องเรียนรู้และมีปฎิสัมพันธฺ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษจำชื่อเด็กและรู้จักเด็กให้ได้ทุกคน
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
- การเข้าใจพัฒนาการของเด็กจะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย รู้เร็วเท่าไรยิ่งหาวิธีรับมือได้เร็วเท่านั้น
ความพร้อมของเด็ก
1.วุฒิภาวะ วุฒิภาวะของเด็กไม่ค่อยต่างกันแต่เด้กที่ข้ามชั้นจะต่างกันมาก
2.แรงจูงใจ ห้องเรียนรวมต้องมีขีดจำกัดให้น้อยที่สุดและมีแรงจูงใจใกล้เคียงกันมากที่สุด
3.โอกาส ได้โอกาสแล้วต้องทำให้ดีที่สุด
การสอนโดยบังเอิญ
- สอนเมื่อเด็กเริ่มสงสัยให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม เด็กเข้าหาครูมากเท่าไรยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
ตัวอย่าง ครูสอนกิจกรรมศิลปะเล่นสีน้ำ ลากเส้นสีเหลืองและสีน้ำเงินเป็นสีเขียวก็จะสอนได้ทำไมถึงเกิดเป็นสีเขียวคือการสอนโดยบังเอิญ
ตารางประจำวัน
- เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
- คำนึงถึงความเหมาะสมของเวลา
- เด็กออทิสติกไม่ชอบให้ปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวัน
- เด็กอนุบาลถ้าทราบว่าตารางประจำวันเป็นอย่างไรจะทำได้ดีและรู้สึกปลอดภัย
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
- การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์และยอมรับขอบเขความสามารถของเด็กแต่ละบุคคล
การใช้สหวิทยากร
- ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้
เทคนิคการใช้แรงเสริม
- แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่ ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
- วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่ ตอบสนองด้วยวาจา สัมผัสทางกายเช่น การโอบ การลูบหัว การกอด ไม่จำกัดความคิดของเด็ก พยักหน้ารับฟังและยิ้ม
- การใช้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์และละเว้นทันทีเมื่อเด้กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ควรชมเกินความเป็นจริงหรือเลยเถิดเกินไป
การแนะนำหรือบอกบท (prompting)
- กำกับบอกเป็นขั้นตอนเด็กพิเศษต้องใช้วิธีนี้การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
ความต่อเนื่อง
- พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน
เช่นการเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบเก็บของ การกลับบ้าน
- สอบแบบก้าวไปข้างหน้า (เด็กทำเป็นขั้นตอนเด็กปฎิบัติเอง ) หรือย้อนมาจากข้างหลัง
(เด็กทำขั้นตอนสุดท้ายที่เหลือคุณครูทำให้หมด)
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลาได้ดาวเด็กดี สัปดาห์นี้ไม่ค่อยตั้งใจเรียนเท่าไรคุยเยอะเล่นเยอะไปหน่อย อาทิตย์หน้าจะพยายามตั้งใจเรียนน่ะค่ะอาจารย์
ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนแต่จะชอบชวนอาจารย์คุยนอกเรื่อง แต่ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์ตั้งใจร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมการเรียนการสอนมาดีทุกครั้ง อธิบายเข้าใจและนึกภาพออกเนื้อหาไม่ซับซ้อนยากเกินไป